มนุษย์มีการทำเครื่องหมายบนร่างกาย(การสัก) มาเป็นพันๆ ปี บ้างก็สักเพื่อเป็นเครื่องราง, ประกาศสัญลักษณ์สถานะของความรัก, สัญญาณของความเชื่อทางศาสนา, ประดับหรือตกแต่งร่างกาย หรือสักเพื่อเป็นการลงโทษ
ötzi the Iceman เป็นมัมมี่ที่มีสภาพสมบูรณ์ของชายอายุ 5300 ปีมาแล้ว โดยพบในเดือนกันยายน ปี 1991 โดยร่างของเขาถูกค้นพบในสภาพน้ำแข็งครึ่งร่าง โดยนักปืนเขาชาวเยอรมันสองคนในธารน้ำแข็งชนัลสตัน, เอิตซทัลแอลป์ ใกล้กับเฮาสลับยอค บนพรมแดนระหว่างออสเตรียกับอิตาลี. เอิตซี(ötzi) ถือว่าเป็นมัมมี่สมบูรณ์ที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์โบราณคดีในโบซาโน ภาคเหนือของอิตาลี
ซึ่งรอยสักเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับการรักษาบำบัดความเจ็บปวดคล้ายกับการฝังเข็ม ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง วิธีการเช่นนี้จะมีอายุอย่างน้อย 2,000 ปีก่อนหน้าการฝังเข็มที่เก่าแก่ที่สุดในจีน
(ราว 1,000 ปีก่อนศริสตกาล)
ประวัติการสัก
เริ่มต้นจากที่กรีก การสักเป็นการทำสัญลักษณ์เฉพาะใบหน้าของทาส และ อาชญากร ต่อมาเริ่มสักแพร่หลายในทวีปยุคโรป ต่อมาประมาณ ค.ศ.787 การสักบนใบหน้าถือเป็นการลบหลู่ต่อพระผู้เป็นเจ้า
ในญี่ปุ่น การสักเรียกว่า Irezumi ซึ่งมีความหมายว่าการเติมหมึก คาดว่าเริ่มปรากฏในประมาณศตวรรษที่ 3 ก่อนศริสตกาล ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 8 การสักประทับตากลุ่มต่างๆ เพื่อแบ่งแยก เช่น เพชฌฆาต สัปเหร่อ อาชญากร จนกระทั่งเริ่มมีการสักแบบ Horibari ที่มักจะมีลวดลายต่างๆทั่วร่างกาย และเริ่มแพร่หลายในปี ค.ศ. 1750 โดยนิยมมากในหมู่ ETA ซึ่งเป็นกลุ่มคนฐานะต่ำที่สุด ซึ่งลวดลายต่างๆมักเป็นจิตรกรรมที่มีชื่อเสียง ตลอดจนเทพเจ้า ตามความเชื่อทางศาสนา และนิทานพื้นบ้าน
ในประเทศไทย การสัก หรือ สักเลกนั้นเป็นการทำเครื่องหมายที่ข้อมือ เพื่อแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นไพร่หลวงที่มีสังกัดกรมกอง แต่ถูกยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 4 ส่วนที่หน้าผาก หรือการสักท้องแขนใช้กับผู้ต้องโทษจำคุก แต่ยกเลิกในปี พ.ศ. 2475 รวมทั้งการสักยันต์เป็นเหมือนของเครื่องรางของขลังตามความเชื่อ
ปัจจุบันการสักพัฒนาไปมากเครื่องมือเป็นที่นิยมที่สุดเป็นเข็มที่ใช้มอเตอร์ในการทำให้ขยับแทงในผิวหนังลึกระหว่าง 0.6-22 มิลลิเมตร เมื่อแทงลงไปหมึกจะแพร่กระจายไปสู่เนื้อเยื่อ ดูดซึมเก็บสะสมไว้ โอกาสที่จะเกิดปฏิกิริยาที่เป็นเชิงลบจากหมึกที่ใช้สักมีน้อยมาก โดยปกติแล้วสิ่งแปลกปลอมจะถูกขจัดจากร่างกายโดยใช้กลไกป้องกันตามธรรมชาติ แต่อนุภาคของหมึกนั้นใหญ่เกินกว่าที่จะถูกขจัดออกไปด้วยกลไกนี้ได้
ในประเทศไทย การสักยังไม่ได้การยอมรับจากสังคมเท่าไหร่นัก ยังมีบุคคลบางกลุ่มยึดถือในความเชื่อเก่าๆ ที่ว่า "คนที่สักเหมือนพวกขี้คุก ไปสมัครงานที่ไหนเขาก็ไม่รับ" แต่ในปัจจุบัน พ.ศ. 2555 การสักได้มีการยอมรับจากบุคคลทางสังคมบางกลุ่มว่า "เป็นงานศิลปะความสวยงามบนร่างกาย"
การสัก ปัจจุบันถือว่าเป็นงานศิลปะประเภทหนึ่งไปแล้ว แนวความคิดของกลุ่มคนที่ชื่นชอบรอยสักในสมัยนี้ก็คือ การสักเป็นความทรงจำ เป็นการบันทึกว่าในช่วงอายุหนึ่งเราชอบในอะไรแบบนี้ก็จะใส่มันลงไปบนที่ตัวเรา บางคนสักเพื่อความสวยงาม บางคนสักเพื่อให้ดูน่าเกรงขาม หรือสักเพื่อเสริมบุคลิกภาพตัวเอง และยังมีการจัดการประกวดประชันความสวยงามของรอยสักขึ้นมาแล้วในกรุงเทพ ณ ศูนย์การค้า MBK Center เป็นเวลา 8 ปี และยังมีความสนใจจากชาวต่างชาติเป็นจำนวนไม่น้อย
ประเภท Big Job เน้นความสอดคล้องของภาพในความใหญ่
ประเภท Portrait Style เน้นความเหมือนต้นแบบมากที่สุด
ประเภท Japanese Tattoo เน้นความเป็นเอกลักษณ์โบราณ และเรื่องราวของชาวญี่ปุ่น ที่มี ดิน น้ำ ลม ไฟ มาเกี่ยวข้อง
ประเภท Thai Style เน้นการแสดงถึงความเป็นไทย เรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับชาวไทย
นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของประเภทของรอยสัก ยังมีอีกหลากหลายประเภทแล้วจะพูดถึงในบทความต่อไป...
มาดูวีดีโอรอยสัก ประเภท New School เจ๋งๆกัน